โครงการอบรมการสร้างอินโฟกราฟิกอย่างมืออาชีพ

หลักสูตร “การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นสูง”
มิถุนายน 26, 2020
โครงการอบรมอินโฟกราฟิกอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 1
สิงหาคม 24, 2020

โครงการอบรมการสร้างอินโฟกราฟิกอย่างมืออาชีพ

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้คำว่า อินโฟกราฟิก (Infographic) เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเว็บเครือข่ายสังคมและสื่อสาธารณะทั่วไป Infographic หรือ Information Graphic เป็นการใช้ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข เป็นต้น โดยนับเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายขึ้นภายในภาพเดียว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคปัจจุบันที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด อินโฟกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้จัดการกับ ข้อมูล ตัวเลขและตัวอักษรที่มากมาย แล้วสื่อออกมาในรูปแบบกราฟิกที่สวยงานและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การทำอินโฟกราฟิกนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักออกแบบได้โชว์ทักษะด้านการสื่อสารกันแบบเต็มที่ เพราะอันที่จริงแล้ว การแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพก็เป็นสิ่งที่คนทำกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด กราฟิก กราฟรูปทรงต่างๆ ตาราง แผนที่ แผนผัง หรือไดอะแกรม แต่ทักษะทางด้านอินโฟกราฟิกนั้นจำเป็นต้องจัดระเบียบข้อมูลที่ทั้งมากและหลากหลายให้จบได้ในภาพเดียว

สื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกในองค์กรด้านการศึกษา ถูกนำมาใช้ทั้งในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กร ในระดับมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นการรับสมัครนักศึกษา การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยและการแสดงข้อมูลภายในองค์กรทั้งในด้านจำนวนบุคลากรและจำนวนนักศึกษา เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและจดจำข้อมูล และการนำสื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิกมาใช้ในระดับคณะและสาขาวิชาประจำคณะและที่สำคัญการนำสื่ออินโฟกราฟิกมาใช้ในกิจกรรมการเรียน การสอน เพื่อช่วยทำให้เนื้อหาในการสอนมีความน่าสนใจและช่วยในการบรรยายเนื้อหาการสอนได้เป็นอย่างดี

แต่การจะออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ออกแบบสื่อต้องมีความเข้าใจด้านการจัดการข้อมูล การสรุปเนื้อหาและทักษะด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ภาพ ภาพสัญลักษณ์ สีและตัวอักษร การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การออกแบบสื่อ Infographic เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์กรจะสามารถเพิ่มทักษะสำหรับอาจารย์และบุคลากรที่สนใจในการผลิตสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อประยุกต์ด้านการสอนและการนำไปใช้ออกแบบสื่อสำหรับให้ข้อมูลขององค์กรต่อไป

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการออกแบบอินโฟกราฟฟิก
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างสื่ออินโฟกราฟฟิกประยุกต์ใช้ในงานได้

รูปแบบการฝึกอบรม

  • การบรรยายประกอบการสาธิต
  • ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Illustrator CC

ระยะเวลาการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง

วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช  (วิทยากร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์)

ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี (ผู้ช่วยวิทยากร ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์)

ลงทะเบียนออนไลน์

รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2563  ลงทะเบียนออนไลน์   (จำนวนที่นั่งเต็ม)

รุ่นที 2 ระหว่างวันที 24 – 26 สิงหาคม 2563 ลงทะเบียนออนไลน์   (จำนวนที่นั่งเต็ม)

เอกสารประกอบการบรรยาย

**ผู้เข้าอบรมสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยยายลิงค์ดังนี้**

*****https://bit.ly/3iB0kSt*****

รายละเอียดเนื้อหาตามหัวข้อฝึกอบรม

Visual Communication

  1. Power of Visual Communication: ความสำคัญของการคิดให้เป็นภาพ
  2. Understand Infographic: Infographic คืออะไร
  3. Visual Communication & Infographic Design ขั้นตอนการทำสื่อ Infographic
  4. Infographic มาจากคำว่า Infographic Communication by visual graphic คือ การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ผ่านภาพกราฟฟิก

4 Types of Infographic       

  • STATIC Infographic
  • PRESENTATION Infographic
  • MOTION Infographic
  • INTERACTIVE Infographic
  • Kinds of Infographic
  1. Visudlised Article – เหมาะกับการแปลงบทความ งานเขียนให้เป็นภาพอินโฟกราฟฟิก โดยการสรุปบทความ และเลือกประเด็นก่อนนำเสนอ
  2. Flow Chart – เป็นการนำเสนอแบบเป็นลำดับขึ้น เหมาะกับการเสนอเป็นควิชให้ผู้อ่านได้ทราบคำตอบที่ต้องการโดยการอ่านไล่ลงไปตามเส้นจนถึงด้านล่างสุด
  3. The timeline และ Road map – เหมาะสำหรับใช้เล่าประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยใช้เส้นแทนระยะเวลาสามารถใช้ได้กับทุกอย่าง เช่น ประวัติองค์กร ประวัติบุคคล เป็นต้น
  4. Useful Bait – เหมาะกับการแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำบ้างอย่างที่สามารถอ่านแล้วนำไปใช้ได้ทันที โดยต้องให้ความสำคัญกับการอ่านง่าย และความเข้าใจที่ง่ายมากกว่าความสวยงาม
  5. Versus Infographic – เหมาะกับการใช้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยการนำเสนอเป็นคู่กัน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โดยใช้การจัดว่างที่เหมือนกันทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ใช้สีคู่ตรงข้ามเป็นตัวแบ่งฝั่งทำให้ดูง่ายและเข้าใจมากขึ้น
  6. Number Porn – เหมาะกับการเสนอข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่มีความน่าสนใจมากๆ หรือจะเป็นกราฟ ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากพอจึงสามารถนำเสนอในรูปแบบนี้ได้ โดยมีเทคนิคว่าไม่ใช่แค่ตัวเลขมาก แต่ตัวเลขต้องน่าสนใจมากพอจึงสามารถนำเสนอในรูปแบบนี้ได้ โดยมีเทคนิคว่าไม่ใช่แค่ตัวเลขมาก แต่ตัวเลขต้องน่าสนใจ หรือเกี่ยวข้องกับคนอ่านมากพอถึงจะมีกราฟหลายประเภท และควรเลือกสไตล์กราฟฟิกแบบเดียวกันทั้งภาพ
  7. Photo Infographic – เหมาะสำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์
  8. Data Vis – เป็นการนำเสนอภาพสิ่งหนึ่งมาแสดงแทนคำพูด เป็นการใช้ภาพเพื่อแสดงข้อมูลในเชิงปริมาณที่วัดได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข แผนภูมิ กราฟ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่มีรูปแบบที่ตายตัว

 When to use Infographic

  1. Simplifying a complicated concept – อธิบายเรื่องที่เข้าใจยาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย
  2. Make Presentation or Report
  3. Explaining how something work – อธิบายขั้นตอนบางอย่าง หรือวิธีการทำงาน
  4. Comparison – การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
  5. To Make decision & Increase Sale – เช่น การแสดงอัตราการเพิ่มยอดจำหน่าย
  6. Interesting Facts – การนำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ
  7. When word just don’t work – การใช้คำพูดอย่างเดียวไม่ work ต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยสื่อด้วย
  8. To raise awareness – การสร้างความตระหนัก
  9. Inform Target – การใช้ข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสาร

ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการทำ Infographic

  1. ทักษะพื้นฐาน 1 หมวด Pictogram
  2. สร้างทักษะพื้นฐาน 2 หมวดแผนภาพ
  3. สร้างทักษะพื้นฐาน 3 หมวด Infographic

Steps to Create Good Infographic

  1. Set Objectives & Target Audiences – กำหนดหัวเรื่อง หรือหัวข้อที่ต้องการจะสื่อสาร
  2. Select Highlight Contents – ดึงเนื้อหาเด่นๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอ
  3. Grouping Contents – จัดกลุ่มหัวข้อ
  4. Create Topics Idea & Story – คิดคำ/คิดหัวข้อที่ดึงดูด หรือคิดเรื่องราวที่จะนำเสนอ
  5. Draft Infographic Outline – ร่างรูปแบบที่จะนำเสนอ
  6. Design Infographic – ออกแบบอินโฟกราฟฟิกตามสิ่งที่ได้ทำมาตั้งแต่ 1-5

เทคนิคการเลือก Colours / Background / Tone / Text Colours/Grid &Alignment/Font

  • การเลือกสี เพื่อนำมาสร้างงานอินโฟกราฟฟิก ไม่ควรใช้สีบนชิ้นงานที่จะนำเสนอเกิน 3 สี ซึ่งสีมีสัดส่วนการใช้สี ประกอบด้วย 60 % Domainat / 30% Secondary / 10% Highlight
  • Background Colours เน้นที่สีแบบ Neutral Colors
  • Tone เน้นแบบ Pastel or Earth Tone
  • Text Colours แบบ Too Similar or Contrasting
  • Grid & Alignment การจัดวางองค์ประกอบของเนื้อหาในงานเน้นความเป็นระเบียบ มีการจัดกลุ่มของเนื้อหาอย่างเป็นหมวดหมู่
  • Font การเลือกรูปแบบตัวอักษรสำหรับการออกแบบ Infographic เน้นการเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่เหมาะกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย

Small Workshop

  1. Tools for Infographic
    • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Illustrator
    • ส่วนประกอบของ Illustrator CS
    • เครื่องมือและคุณสมบัติการใช้งาน
    • เริ่มต้นการใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม
    • เรียนรูปการสร้างรูปทรงแบบต่าง
    • การเพิ่มสีสันให้กับชิ้นงาน (Fill & Stroke)
    • การสร้างภาพด้วย Filter และ Effect ต่าง ๆ
    • การสร้างข้อความแบบต่าง ๆ
    • Pen Tool
    • Pathfinder Palette
    • ฝึกการสร้างรูปและไอคอนสำหรับงาน Infographic
  2. Infographic Design Workshop
  3. องค์ประกอบของภาพ Infographic
  4. Shared experience & How to Brief

วิทยากรได้อธิบายการใช้เครื่องมือในการสร้างงาน Infographic ด้วย Program Adobe Illustrator และการนำภาพที่รีทัชด้วย Program Adobe Photoshop มาใช้ในงานอินโฟกราฟฟิกด้วย วิทยากรได้สอนการออกแบบ Infographic ไปทีละขั้นตอนและให้ทำงานกลุ่ม (กลุ่มละ 2-3 ท่าน) ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่อง แนวทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียนในยุคต่อไป โดยผ่านการระดมความคิดเห็น
คิดวิเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงข้อมูลจากแต่ละคนในกลุ่ม และคัดเลือกหัวข้อที่จะนำเสนอ พร้อมกับร่างรูปแบบ
ที่จะออกแบบผลงานของกลุ่ม ก่อนที่จะให้แต่ละคนลองทำผลงานที่ได้ร่วมกันคิดออกมาเป็นรูปแบบผลงาน Infographic เพื่อนำเสนอให้ผู้เข้าอบรมกลุ่มอื่นๆ ดูและแชร์แลกเปลี่ยน รับฟังคำวิจารณ์จากวิทยากร
เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาผลงานต่อไป

 How to design a good Infographic

  1. How to desing a good Infographic
  2. Tools ในการทำ Infographic
  3. Trick ในการออกแบบ Infographic ให้เสร็จเร็วขึ้น

Workshop

  1. Workshop นำโจทย์มา Design Infographic และจัดทำ Infographic สามารถนำกลับไปปฏิบัติงานได้จริง
  2. Share ประสบการณ์และรับฟังการวิจารณ์ผลงาน ทั้งนี้ได้นำเสนอผลงานโดยการจัดทำ Infographic ของศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (SME One-stop Service Center: OSS) ออกมาเป็นรูปแบบ Infographic

Comments are closed.