โครงการ workshop และ คลินิก การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ บน RMUTT Digital Learning Platform
ลักษณะหลักสูตร จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหรือ workshop เกี่ยวกับกับคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการของสวส. โดยจัดที่นั่งและมาตรการป้องกันโควิด-19 แบบ social distancing มีทีมวิทยากรช่วยเหลือการฝึกปฏิบัติการตลอดการฝึกอบรม ใช้ระยะเวลา 1 วัน ต่อรุ่น
หลักสูตร
1. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์สามารถสร้างประสบการณ์เรียนรู้ระบบออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ (RMUTT Digital Learning Platform ซึ่งเป็น LMS platform หลักของมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ DLearn และ MS Teams ซึ่งเป็น Collaborative Working tool ที่มหาวิทยาลัยฯ มีลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การฝึกอบรมจะเน้น workshop ให้อาจารย์แต่ละท่านสร้างประสบการณ์เรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างเหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ เช่น การสร้างห้องเรียนออนไลน์ สร้างกลุ่มเรียน (Sec.) จัดนักศึกษาเข้ากลุ่มเรียน สร้างบทเรียนหรือเนื้อหารายสัปดาห์ สื่อการเรียน งานมอบหมาย แบบฝึกหัด และข้อสอบแบบปรนัยแบบสุ่มเลือก เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ MS Teams เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เรียนในกิจกรรมแบบ real-time
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม
อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมจะมีห้องเรียนออนไลน์ในรายวิชาจริงที่รับผิดชอบ มีเนื้อหาบทเรียน สื่อสไลด์ งานมอบหมาย แบบทดสอบท้ายบทแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก เป็นต้น อย่างน้อย 1 บทหรือ 1 หัวข้อ อยู่บนระบบ DLearn ซึ่งเป็น LMS หลักของมหาวิทยาลัยฯ โดยผู้สอนสามารถนำกลับไปแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบทุกบทหรือหัวข้อได้ในภายหลัง และสามารถใช้งาน MS Teams ในการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ตามเวลาจริง (Two-way Realtime Online Meeting) ได้อย่างเหมาะสม
เงื่อนไขการเข้าอบรม
อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องนำ
– รหัสวิชา ชื่อวิชา คำอธิบายรายวิชา
– เอกสารประกอบการสอน เช่น สไลด์ ไฟล์ pdf ฯลฯ อย่างน้อย 1 บท
– งานมอบหมาย 1 ชิ้น
2. หลักสูตร เทคนิคการสร้างบทเรียนออนไลน์ขั้นสูง จัดขึ้นเพื่อเป็นคลินิกให้คำปรึกษาแบบ case by case และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับอาจารย์ที่มีรายวิชาอยู่บน DLearn และเคยจัดการเรียนการสอนผ่าน DLearn มาแล้ว ต้องการสร้างเนื้อหา สื่อ หรือกิจกรรมแบบ vdo และแทรกการทดสอบแบบ interactive gamification ลงบน vdo โดยใช้ feature ที่มีอยู่บน DLearn
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม
อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมจะสามารถสร้างประสบการณ์เรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ขั้นสูง โดยใช้เครื่องมือเสริมจากระบบ DLearn เช่น เป็นต้น และสามารถสร้าง solution ที่เหมาะสมมาช่วยแก้ปัญหาการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ประสบอยู่ได้
เงื่อนไขการเข้าอบรม
อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ จะต้องระบุปัญหา แนวทางแก้ปัญหา หรือความคาดหวังที่จะให้ทีมวิทยากรช่วยเหลือในการสร้างประสบการเรียนรู้แบบออนไลน์ในแบบสำรวจ
หลักสูตร รุ่น จำนวน วัน เวลา สถานที่ (เลือกได้เพียงรุ่นเดียว)
1.1. รุ่นที่ 1 วันพฤหัสที่ 4 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.2. รุ่นที่ 2 วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.3. รุ่นที่ 3 วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.4. รุ่นที่ 4 วันพฤหัสที่ 11 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.5. รุ่นที่ 5 วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.6. รุ่นที่ 6 วันพฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.7. รุ่นที่ 7 วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขั้นพื้นฐาน
1.8. รุ่นที่ 8 วันพฤหัสที่ 25 มิถุนายน 2563 หลักสูตร เทคนิคการสร้างบทเรียนออนไลน์ขั้นสูง
เวลาฝึกอบรม ตั้งแต่ 9.00-16.00 น. สถานที่ อาคาร I-WORK ชั้น 2 ห้อง 202 รุ่นละจำนวน 40 คน มีเครื่องดื่ม คอฟฟี่เบรก และอาหารมื้อกลางวัน ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร จะได้รับวุฒิบัตร